วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การใช้คำสั่ง Zoom ( Z )



วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเปิดแฟ้มข้อมูลใหม่ AutoCAD

        การเปิดแฟ้มข้อมูลใหม่ เมื่อเข้าสู่โปรแกรม AutoCAD 2006 ครั้งแรกจะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ขึ้นเพื่อใช้กำหนดระบบการทำงานต่าง ๆ 
รูปที่ 6 แสดงรูปของไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Start up

Use A Wizard ในปุ่ม Wizard(ผู้วิเศษ) ประกอบด้วย 2 ตัวเลือก คือ
1) Quick Setup เป็นการกำหนดหน่วยการวัด และพื้นที่ของ Drawing ดังนี้
    ) Unit คือการเลือกระบบหน่วยในการวัดสำหรับการทำงาน ในด้านซ้ายจะเป็น
อ๊อปชั่นให้เลือกใช้กำหนดการวัด ดังนี้ Decimal, Engineering, Architectural, Fractional และ Scientific ในรูปภาพทางด้านขวามือจะเปลี่ยนไปตามหน่วยที่เลือก แต่ส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้หน่วย Decimal
        ) Area คือการกำหนดขนาดพื้นที่ของการทำงานหรือขนาดกระดาษ ตามโปรแกรมกำหนดเป็น A3 มีขนาด 420 x 210 มม. หรือต้องการกำหนดเป็นให้ใส่ค่าในช่องตามขนาด กว้าง 210 มม. ยาว(สูง) 297 มม. แล้วคลิกปุ่ม Finish
รูปที่ 7 แสดง ไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Quick Setup

2) Advance Setup มีการกำหนดค่าต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้นไปจาก Quick Setup
ประกอบด้วย 5 Step ดังนี้
) Unit ลักษณะการทำงานเหมือนกับไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Quick setup แต่มีส่วนเพิ่มเข้ามาคือ การกำหนดจุดทศนิยมของหน่วยที่ใช้ในการวัด
) Angle เป็นการเลือกหน่วยการวัดขนาดของมุม เช่น องศา หรือ เรเดียน
) Angle Measure คือการเลือกทิศทางของมุมที่ใช้สำหรับการวัด เมื่อคลิกตัวเลือกอื่นทิศทางของมุมจะเปลี่ยนไปตามอ๊อปชั่นที่เลือก
) Angle Direction คือการเลือกทิศทางของมุมในการหมุน ใน AutoCAD 2006 มุมที่ใช้ในการหมุน แบ่งออกได้เป็นหมุนทวนเข็มนาฬิกา (Counter Clockwise) และหมุนตามเข็มนาฬิกา(Clockwise)
) Area ใช้ในการกำหนดพื้นที่การใช้งาน โดยกำหนดขนาดความกว้างและยาวของพื้นที่
ค.  รูปแสดงการตั้งค่า Angle Direction
. รูปการตั้งค่า Area
รูปที่ 8 -จ แสดง ไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Advance Setup

กระดาษเขียนแบบมีหลายขนาดดังนี้
A0 เท่ากับ 1188 × 840 mm.
A1 เท่ากับ 840 × 594 mm.
A2 เท่ากับ 594 × 420 mm.
A3 เท่ากับ 420 × 297 mm.
A4 เท่ากับ 210 × 297 mm. 











วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การใช้โปรแกรม AutoCAD

ทฤษฎีโปรแกรม AutoCAD 2006
ในปัจจุบันนี้การออกแบบระบบไฟฟ้าจะต้องเขียนแบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ในที่นี้จะศึกษาการใช้โปรแกรม AutoCAD 2006 แบบ 2 มิติเกี่ยวกับคำสั่งที่สำคัญและส่วนประกอบต่างๆที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนรายละเอียดอื่นๆสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือAutoCAD ทั่วไป
1.  ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าจอ AutoCAD 2006
รูปที่ 1 แสดงส่วนต่าง ๆ ของหน้าจอ AutoCAD 2006

 จากรูปหน้าจอของ AutoCAD 2006 ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้
1) Pull Down Menu อยู่ด้านบนสุด มีคำสั่งเพื่อใช้เขียนวัตถุ โดยการคลิกที่ Pull Down Menu แล้วจะมี List Menu ออกมาเพื่อเลือกคำสั่งต่อไป
               2) Toolbar Menu เป็นรูป icon ของเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการสั่งงานใช้โปรแกรมทำตามความต้องการของผู้ใช้ โดยการคลิกที่ตัว icon ของเครื่องมือ 
               3) Drawing Area พื้นที่เขียนแบบ
รูปที่ 4 แสดงรูปพื้นที่เขียนแบบ
               
               4) Command Line อยู่ใต้พื้นที่เขียนแบบ ใช้พิมพ์คำสั่ง

2.การใช้คำสั่ง AutoCAD 2006

1) การใช้ฟังก์ชั่นบนคีย์บอร์ด
F1 = Window online help
F2 = สลับหน้าจอไปมาระหว่างโหมด Text กับโหมด Graphic
F3 = เปิด-ปิดออฟเจกท์สแน๊ป (OSNAP) แบบอัตโนมัติ
F5 = ปุ่มแสดง ISO Plane (Top/Right/Left )
F6 = ปุ่มสำหรับการเปิด-ปิดระบบคอร์ออร์ดิเนท
F7 = ปุ่มสำหรับแสดงโหมดปิด-เปิด Grid
F8 = ปุ่มสำหรับแสดงโหมดปิด-เปิด Ortho
F9 = ปุ่มสำหรับแสดงโหมดปิด-เปิด Snap
F10 = ปุ่มสำหรับแสดงโหมดปิด-เปิด Tablet
F12 = ปุ่มสำหรับปิด-เปิดการแสดงคำสั่งบนหน้า
R = Redraws ใช้ในการวาดใหม่
U = Undo ใช้ในการย้อนกลับ 1 ขั้นตอนการทำงาน
Esc = ใช้ในการยกเลิกคำสั่ง