วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554
การเปิดแฟ้มข้อมูลใหม่ AutoCAD
การเปิดแฟ้มข้อมูลใหม่ เมื่อเข้าสู่โปรแกรม AutoCAD 2006 ครั้งแรกจะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ขึ้นเพื่อใช้กำหนดระบบการทำงานต่าง ๆ
รูปที่ 6 แสดงรูปของไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Start up
Use A Wizard ในปุ่ม Wizard(ผู้วิเศษ) ประกอบด้วย 2 ตัวเลือก คือ
1) Quick Setup เป็นการกำหนดหน่วยการวัด และพื้นที่ของ Drawing ดังนี้
ก) Unit คือการเลือกระบบหน่วยในการวัดสำหรับการทำงาน ในด้านซ้ายจะเป็น
อ๊อปชั่นให้เลือกใช้กำหนดการวัด ดังนี้ Decimal, Engineering, Architectural, Fractional และ Scientific ในรูปภาพทางด้านขวามือจะเปลี่ยนไปตามหน่วยที่เลือก แต่ส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้หน่วย Decimal
ข) Area คือการกำหนดขนาดพื้นที่ของการทำงานหรือขนาดกระดาษ ตามโปรแกรมกำหนดเป็น A3 มีขนาด 420 x 210 มม. หรือต้องการกำหนดเป็นให้ใส่ค่าในช่องตามขนาด กว้าง 210 มม. ยาว(สูง) 297 มม. แล้วคลิกปุ่ม Finish
รูปที่ 7 แสดง ไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Quick Setup
2) Advance Setup มีการกำหนดค่าต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้นไปจาก Quick Setup
ประกอบด้วย 5 Step ดังนี้
ก) Unit ลักษณะการทำงานเหมือนกับไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Quick setup แต่มีส่วนเพิ่มเข้ามาคือ การกำหนดจุดทศนิยมของหน่วยที่ใช้ในการวัด
ข) Angle เป็นการเลือกหน่วยการวัดขนาดของมุม เช่น องศา หรือ เรเดียน
ค) Angle Measure คือการเลือกทิศทางของมุมที่ใช้สำหรับการวัด เมื่อคลิกตัวเลือกอื่นทิศทางของมุมจะเปลี่ยนไปตามอ๊อปชั่นที่เลือก
ง) Angle Direction คือการเลือกทิศทางของมุมในการหมุน ใน AutoCAD 2006 มุมที่ใช้ในการหมุน แบ่งออกได้เป็นหมุนทวนเข็มนาฬิกา (Counter Clockwise) และหมุนตามเข็มนาฬิกา(Clockwise)
จ) Area ใช้ในการกำหนดพื้นที่การใช้งาน โดยกำหนดขนาดความกว้างและยาวของพื้นที่
ค. รูปแสดงการตั้งค่า Angle Direction
จ. รูปการตั้งค่า Area
รูปที่ 8 ก-จ แสดง ไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Advance Setup
กระดาษเขียนแบบมีหลายขนาดดังนี้
A0 เท่ากับ 1188 × 840 mm.
A1 เท่ากับ 840 × 594 mm.
A2 เท่ากับ 594 × 420 mm.
A3 เท่ากับ 420 × 297 mm.
A4 เท่ากับ 210 × 297 mm.
วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554
การใช้โปรแกรม AutoCAD
ทฤษฎีโปรแกรม AutoCAD 2006
ในปัจจุบันนี้การออกแบบระบบไฟฟ้าจะต้องเขียนแบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ในที่นี้จะศึกษาการใช้โปรแกรม AutoCAD 2006 แบบ 2 มิติเกี่ยวกับคำสั่งที่สำคัญและส่วนประกอบต่างๆที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนรายละเอียดอื่นๆสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือAutoCAD ทั่วไป
1. ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าจอ AutoCAD 2006
รูปที่ 1 แสดงส่วนต่าง ๆ ของหน้าจอ AutoCAD 2006
จากรูปหน้าจอของ AutoCAD 2006 ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้
1) Pull Down Menu อยู่ด้านบนสุด มีคำสั่งเพื่อใช้เขียนวัตถุ โดยการคลิกที่ Pull Down Menu แล้วจะมี List Menu ออกมาเพื่อเลือกคำสั่งต่อไป
2) Toolbar Menu เป็นรูป icon ของเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการสั่งงานใช้โปรแกรมทำตามความต้องการของผู้ใช้ โดยการคลิกที่ตัว icon ของเครื่องมือ 3) Drawing Area พื้นที่เขียนแบบ
รูปที่ 4 แสดงรูปพื้นที่เขียนแบบ
4) Command Line อยู่ใต้พื้นที่เขียนแบบ ใช้พิมพ์คำสั่ง
2.การใช้คำสั่ง AutoCAD 2006
1) การใช้ฟังก์ชั่นบนคีย์บอร์ด
F1 = Window online help
F2 = สลับหน้าจอไปมาระหว่างโหมด Text กับโหมด Graphic
F3 = เปิด-ปิดออฟเจกท์สแน๊ป (OSNAP) แบบอัตโนมัติ
F5 = ปุ่มแสดง ISO Plane (Top/Right/Left )
F6 = ปุ่มสำหรับการเปิด-ปิดระบบคอร์ออร์ดิเนท
F7 = ปุ่มสำหรับแสดงโหมดปิด-เปิด Grid
F8 = ปุ่มสำหรับแสดงโหมดปิด-เปิด Ortho
F9 = ปุ่มสำหรับแสดงโหมดปิด-เปิด Snap
F10 = ปุ่มสำหรับแสดงโหมดปิด-เปิด Tablet
F12 = ปุ่มสำหรับปิด-เปิดการแสดงคำสั่งบนหน้า
R = Redraws ใช้ในการวาดใหม่
U = Undo ใช้ในการย้อนกลับ 1 ขั้นตอนการทำงาน
Esc = ใช้ในการยกเลิกคำสั่ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)